การนอนหลับ กลไกสำคัญพัฒนาสมอง

3 ขวบแรกเป็นวัยที่เด็กมีพัฒนาการเร็ว และจะนอนมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน โดยทารกแรกเกิดมาพร้อมกับเซลล์สมองกว่า 80,000 ล้านเซลล์

สุขภาพ สมองเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักเพียง 400 กรัม จะเพิ่มขนาดเป็น 1,000 กรัม ในวัย 3 ขวบ การเรียนรู้ที่เรียกว่า synapse โดยเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกันถึง 40,000 ครั้ง ทุก ๆ วินาทีจะมีมากกว่าหนึ่งล้าน synapse ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาการและการส่งสัญญาณจากสมองเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ ทั้งสร้างปลอกเยื่อหุ้มใยประสาทที่เรียกว่า “ไมอีลิน”ปัจจัยสำคัญคือกระบวนการพัฒนาสมอง ทั้งการเกิด synapse และสร้าง myelin ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะที่เด็กหลับ มีการศึกษาพบว่า ในทารกและเด็กเล็กที่นอนไม่พอ

สุขภาพ การนอนหลับ

ขนาดสมองจะเล็ก และมีระดับคะแนนการเรียนรู้ต่ำกว่าเด็กที่นอนเพียงพอ ส่งผลต่อสติปัญญา สังคม และอารมณ์เมื่อเข้าสู่วัยเรียนวัยรุ่นระยะของการนอนก็มีความสัมพันธ์กับความจำ เช่น หลับตื้นหรือหลับระยะที่สองเกี่ยวข้องกับความจำด้านการเคลื่อนไหว หลับลึกหรือระยะที่สามเกี่ยวข้องกับความจำภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ และความรู้เชิงนามธรรมดังนั้น ในวัยเรียนการนอนจึงสำคัญมาก ๆ มีการศึกษาเด็กประถมและวัยรุ่นที่กำลังศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า เมื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทั้งความจำและความสามารถในการปฏิบัติ โดยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษากลุ่มแรกทำแบบทดสอบทันทีหลังการเรียน

อ่านข่าวเพิ่มเติม : กรมอนามัย แนะ 5 วิธี กินหมูกระทะ-อาหารปิ้งย่าง อย่างปลอดภัย ห่างไกล “มะเร็ง” และ “ไข้หูดับ”

กรมอนามัย แนะ 5 วิธี กินหมูกระทะ-อาหารปิ้งย่าง อย่างปลอดภัย ห่างไกล “มะเร็ง” และ “ไข้หูดับ”

กรมอนามัย แนะ 5 วิธี กินหมูกระทะ-อาหารปิ้งย่าง อย่างปลอดภัย ห่างไกล “มะเร็ง” และ “ไข้หูดับ”

กรมอนามัย แนะ 5 วิธี

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การรับประทานหมูกระทะ หรืออาหารปิ้งย่างอื่น ๆ กลายเป็นวิถีการกินที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยโอกาสไหน ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานหมูกระทะ หรืออาหารปิ้งย่าง อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพร้ายแรง อย่างเช่น มะเร็ง หรือ ไข้หูดับ ได้

อันตราย จากการรับประทาน หมูกระทะ อาหารปิ้งย่าง
การรับประทานหมูกระทะ หรืออาหารปิ้ง-ย่าง แฝงด้วยอันตราย หากรับประทานแบบไม่ปลอดภัย เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค “สเตรปโตคอคคัส ซูอิส” หรือที่เราเรียกกันคุ้นปากว่า “ไข้หูดับ” จากการกินเนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ หรือใช้ตะเกียบคีบรวมกันระหว่างเนื้อที่ปรุงสุกแล้วกับที่เนื้อที่ยังดิบอยู่

ยิ่งไปกว่านั้น การรับประทานหมูกระทะ หรืออาหารปิ้งย่าง ยังเสี่ยงต่อการได้รับสารพีเอเอช หรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่เกิดในควันไฟ ไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ และเตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม โดยสารนี้จะพบในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารที่ปรุงด้วยการปิ้ง ย่าง หรือรมควัน ของเนื้อสัตว์ที่มีไขมันหรือมันเปลวติดอยู่ เช่น หมูย่างติดมัน เนื้อย่างติดมัน ไก่ย่างส่วนติดมัน เนื่องจากขณะปิ้งย่าง ไขมันหรือน้ำมันจะหยดไปบนเตาไฟ ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดสารพีเอเอชลอยขึ้นมาพร้อมเขม่าควันเกาะที่บริเวณผิวของอาหาร หากกินเข้าไปเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้

คำแนะนำ การรับประทานหมูกระทะ อาหารปิ้งย่าง จากกรมอนามัย
“สุกทั่วถึง” ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ประเภทใด ควรผ่านการปรุงให้สุกโดยใช้ความร้อน ให้สุกอย่างทั่วถึงด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 นาที
“แยกใช้อุปกรณ์” ควรแยกใช้ระหว่างเนื้อที่สุกแล้วกับเนื้อดิบ โดยเฉพาะ เขียง ที่คีบ และตะเกียบ เพราะการใช้อุปกรณ์ร่วมกันจะทำให้เชื้อโรคจากเนื้อดิบมาปนเปื้อนในเนื้อที่สุกได้
“เลือกเนื้อสัตว์” เลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือมีการรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานราชการ และเมื่อนำมาประกอบอาหาร ควรเลือกเฉพาะส่วนที่มีไขมันติดน้อยที่สุด หรือควรตัดส่วนที่เป็นไขมันออกไปก่อนนำไปย่าง
“ใบตองช่วย” อาจจะใช้ใบตองห่ออาหารก่อนทำการปิ้งย่าง ซึ่งนอกจากจะลดปริมาณไขมัน จากอาหารที่หยดลงไปบนถ่านแล้ว ยังทำให้อาหารมีกลิ่นหอมใบตองด้วย
“เลือกร้านอาหาร” ควรเลือกร้านที่ใช้อุปกรณ์และภาชนะในการปิ้งย่าง แยกกันอย่างชัดเจน และใช้เตาที่สามารถลดหรือป้องกันน้ำมันหยดลงบนเตาไฟได้ เช่น เตาไฟฟ้าหรือเตาไร้ควัน ซึ่งสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน
ไม่ลืม รับประทานผักและผลไม้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค
ทั้งนี้ เนื่องจากโดยมากแล้ว การรับประทานหมูกระทะ หรืออาหารปิ้งย่าง จะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จึงควรรับประทานผักและผลไม้เสริม เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค และควรกินอาหารให้มีความหลากหลายในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย